PHP คืออะไร
ในช่วงแรกภาษาที่นิยมใช้งานบนระบบเครือข่าย
คือ ภาษา HTML
(Hypertext Markup Language) แต่ภาษา HTML มีลักษณะเป็น
Static คือ ภาษาที่มีลักษณะของข้อมูลคงที่
ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบันที่นิยมใช้ระบบเครือข่าย Internet เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างกัน
ทำให้ต้องการใช้เว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแบบ Dynamic คือ
เว็บไซต์ที่ข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ
ที่ผู้เขียนเว็บไซต์เป็นผู้กำหนด
และการควบคุมการทำงานเหล่านี้จะกระทำโดยโปรแกรมภาษาสคริปต์ เช่น ภาษา PHP ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
PHP ถูกสร้างขึ้นในปี
ค.ศ.1994 โดย Rasmus Lerdorf ต่อมามีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
จึงได้ออกเป็นแพ็คเกจ "Personal Home Page" ซึ่งเป็นที่มาของ
PHP โดยภาษา PHP เป็นแบบ Server
Side Script และเป็น Open Source ที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลด
Source Code และโปรแกรมไปใช้ฟรี ได้ที่ http://www.php.net
พอกลางปี ค.ศ.1995
เขาก็ได้พัฒนาตัวแปลภาษา PHP
ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อว่า PHP/FI เวอร์ชั่น 2
ซึ่งได้เพิ่มความสามารถในการรับข้อมูลที่ส่งมาจากฟอร์มของ HTML (จึงมีชื่อว่า FI หรือ Form Interpreter) นอกจากนั้นยังเพิ่มความสามารถในการติดต่อกับฐานข้อมูลอีกด้วย
จึงทำให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจ PHP กันมากขึ้น
ในปี 1997 มีผู้ร่วมพัฒนา PHP เพิ่มอีก 2 คน คือ Zeev Suraski และ Andi
Gutmans (กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Zend ซึ่งย่อมาจาก
Zeev และ Andi ) โดยได้แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
และเพิ่มเติมเครื่องมือให้มากขึ้น
โครงสร้างของภาษา
PHP
ภาษา PHP มีลักษณะเป็น embedded
script หมายความว่าเราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจร่วมกับคำสั่ง(Tag)
ของ HTML ได้ และสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .php,
.php3 หรือ .php4 ซึ่งไวยากรณ์ที่ใช้ใน PHP
เป็นการนำรูปแบบของภาษาต่างๆ มารวมกันได้แก่ C, Perl และ Java ทำให้ผู้ใช้ที่มีพื้นฐานของภาษาเหล่านี้อยู่แล้วสามารถศึกษา
และใช้งานภาษานี้ได้ไม่ยาก
ตัวอย่างที่
1
1
2 3 4 5 6 7 8 9 10 |
<html>
<head> <title>Example 1 </title> </head> <body> <? echo"Hi, I'm a PHP script!"; ?> </body> </html> |
จากตัวอย่าง บรรทัดที่ 6 - 8
เป็นส่วนของสคริปต์ PHP
ซึ่งเริ่มต้นด้วย <? ตามด้วยคำสั่งที่เรียกฟังก์ชั่นหรือข้อความ
และปิดท้ายด้วย ?> สำหรับตัวอย่างนี้เป็นสคริปต์ที่แสดงข้อความว่า
"Hi, I'm a PHP script" โดยใช้คำสั่ง echo ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลของภาษาสคริปต์ PHP ซึ่งจะแสดงผลดังนี้
เราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจหนึ่งๆ โดยเปิดและปิดด้วยแท็ก(Tag) ของ PHP
กี่ครั้งก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่
2
1
2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 |
<html>
<head> <title>Example 1 </title> </head> <body> <table border=1> <tr> <td><? echo"PHP script block 1"; ?></td> <td><? echo"PHP script block 2 "; ?></td> </tr> </table> <? echo"PHP script block 3 <br> "; echo date("ขณะนี้เวลา H:i น."); ?> </body> </html> |
ความสามารถของภาษา
PHP
- เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบ Open source ผู้ใช้สามารถ Download และนำ Source code ของ PHP ไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- เป็นสคริปต์แบบ Server Side
Script ดังนั้นจึงทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์
ไม่ส่งผลกับการทำงานของเครื่อง Client โดย PHP จะอ่านโค้ด และทำงานที่เซิร์ฟเวอร์
จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาที่เครื่องของผู้ใช้ในรูปแบบของ HTML
ซึ่งโค้ดของ PHP นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้
- PHP
สามารถทำงานได้ในระบบปฎิบัติการที่ต่างชนิดกัน เช่น Unix,
Windows, Mac OS หรือ Risc OS อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจาก PHP เป็นสคริปต์ที่ต้องทำงานบนเซิร์ฟเวอร์
ดังนั้นคอมพิวเตอร์สำหรับเรียกใช้คำสั่ง PHP จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ด้วย
เพื่อให้สามารถประมวลผล PHP ได้
-
PHP
สามารถทำงานได้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Personal Web
Server(PWS), Apache, OmniHttpd และ Internet Information
Service(IIS) เป็นต้น
- ภาษา PHP สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
(Object Oriented Programming)
-
PHP
มีความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลที่หลากหลาย
ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลที่สนับสนุนการทำงานของ PHP เช่น Oracle,
MySQL, FilePro, Solid, FrontBase, mSQL และ MS SQL เป็นต้น
- PHP
อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างเว็บไซต์ซึ่งทำงานผ่านโปรโตคอลชนิดต่างๆ ได้
เช่น LDAP, IMAP, SNMP, POP3 และ HTTP เป็นต้น
- โค้ด PHP สามารถเขียน
และอ่านในรูปแบบของ XML ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น