1.กำหนดเป้าหมายและวางแผนงาน
1.1 เพื่อให้เห็นภาพลักษณะเว็บไซต์ที่เราอยากจะทำได้ชัดเจนขึ้น
อาจตั้งคำถาม เช่น
- ทำไมอยากจะมีเว็บไซต์
มีเป้าหมายอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า
- อยากทำเว็บไซต์เกี่ยวกับเรื่องอะไร
- อยากให้เว็บไซต์มีลักษณะเป็นอย่างไร
1.2
กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย ผู้ชมกลุ่มไหนที่เราคาดหวังให้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อจะได้ออกแบบเว็บไซต์ เลือกเนื้อหา โทนสี กราฟฟิค และเทคโนโลยีที่นำมาสนับสนุน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น ถ้าผู้ชมเป็นกลุ่มวัยรุ่น ก็ควรจะออกแบบให้มีสีสันสดใส ใช้ภาพกราฟฟิค ดึงดูดให้น่าสนใจ ถ้าผู้ชมเป็นกลุ่มผู้ที่สนใจธรรมะ ก็ควรออกแบบให้ดูเรียบง่าย ถ้าฉูดฉาดเกินไป คงรู้สึกขัดๆ
1.3 กำหนดขอบเขตเนื้อหา และรวบรวมข้อมูลเนื้อหา
เมื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาเสร็จแล้ว ให้วางแผนต่อว่าข้อมูลมาจากแหล่งใดได้บ้าง จะจัดเตรียมได้อย่างไร เช่น เป็นข้อมูลที่เราคิดและนำเสนอเอง หรือนำข้อมูลมาจากสื่ออื่น เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ เป็นต้น ดูด้วยว่าจะต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนหรือเปล่า เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
1.4 เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น
1.4.1
จัดเตรียมอุปกรณ์ หรือเครื่องมือช่วยงาน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องสแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล
1.4.2
จัดหาโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ เช่น
-
โปรแกรมสำหรับพัฒนาเขียนเว็บเพจ
เช่น EditPlus
, Adobe Dreamweaver
-
โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ
เช่น Adobe
Photoshop และ ImageReady
- โปรแกรม FTP
สำหรับ upload file จากเครื่องคอมพิวเตอร์เราไปเครื่อง
Server (เช่น WS_FTP, FileZilla สามารถหา download มาใช้ได้ฟรี)
- โปรแกรมอื่นๆ เช่น SnagIT
สำหรับ Capture รูปภาพหน้าจอ
ทำให้สะดวกเวลาเราต้องการ Capture รูปภาพ
เพื่อแนะนำการใช้งานโปรแกรม หรืออื่นๆ
2. เลือก Web
hosting และจด Domain name
Web hosting คือ
การให้บริการเช่าพื้นที่ หรือ รับฝากข้อมูลของเว็บไซต์เรา บนเครื่อง Web
server ของผู้ให้บริการ
Domain name ก็คือชื่อเว็บไซต์
ที่ประกอบด้วยชื่อ และนามสกุล เช่น enjoyday.net, google.com เป็นต้น เราสามารถที่จะจด Domain name เป็นของตนเองได้
โดยต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น
3.
ออกแบบเว็บไซต์
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site
Structure Design) คือ การจัดหมวดหมู่ และลำดับของเนื้อหา
แล้วจัดทำเป็นแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์
ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างภายในเว็บไซต์
และแต่ละหน้าเว็บเพจนั้นมีการเชื่อมโยงกันอย่างไร
โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีจะช่วยให้ผู้ชมไม่สับสนและค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ควรเป็นลำดับที่ลึกหลายชั้นเกินไป เพราะผู้ใช้จะเบื่อเสียก่อน
กว่าจะค้นหาเจอหน้าที่ต้องการ
ส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจ
แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
1. ส่วนหัวของหน้า (Page
Header) เป็นส่วนที่อยู่ตอนบนสุดของหน้า
และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหน้า
เพราะเป็นส่วนที่ดึงดูดผู้ชมให้ติดตามเนื้อหาภายในเว็บไซต์ มักใส่ภาพกราฟฟิกเพื่อสร้างความประทับใจ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย
- โลโก้ (Logo)
เป็นสิ่งที่เว็บไซต์ควรมี เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี
และยังทำให้เว็บน่าเชื่อถือ
- ชื่อเว็บไซต์
-
เมนูหลักหรือลิงค์ (Navigation
Bar) เป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาของเว็บไซต์
2. ส่วนของเนื้อหา (Page
Body) เป็นส่วนที่อยู่ตอนกลางของหน้า
ใช้แสดงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์
ซึ่งประกอบด้วยข้อความ, ตารางข้อมูล
ภาพกราฟิก วีดีโอ และอื่นๆ และอาจมีเมนูหลัก
หรือเมนูเฉพาะกลุ่มวางอยู่ในส่วนนี้ด้วย
สำหรับส่วนเนื้อหาควรแสดงใจความสำคัญที่เป็นหัวเรื่องไว้บนสุด
ข้อมูลมีความกระชับ ใช้รูปแบบตัวอักษรที่อ่านง่าย และจัด Layout
ให้เหมาะสมและเป็นระเบียบ
3. ส่วนท้ายของหน้า
(Page
Footer) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้า
จะมีหรือไม่มีก็ได้
มักวางระบบนำทางที่เป็นลิงค์ข้อความง่าย ๆ และอาจแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์
เช่น เจ้าของเว็บไซต์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น